วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กติกาเทเบิลเทนนิส

ก ติ ก า เ ท เ บิ ล เ ท น นิ สส ม า ค ม เ ท เ บิ ล เ ท น นิ ส แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ยจั ด พิ ม พ์ โ ด ย . . ปิ ง ป อ ง อิ น เ ต อ ร์คัดลอกจาก 1. โต๊ะเทเบิลเทนนิส 1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาว 2.74 เมตร ( 9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร ( 5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร ( 2 ฟุต 6 นิ้ว ) 1.2 พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา 1.3 พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร ลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร 1.4 พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้านจะทางด้วยสีขาว มีความกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตรทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นสกัด” 1.5 พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดนเท่าๆ กัน กั้นด้วยเน็ตซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด 1.6 สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กันด้วยเส้นสีขาวขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า “เส้นกลาง” และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ตด้านขวาของโต๊ะด้วย 1.7 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากลโต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิส นานาชาติเท่านั้น และในการจัดการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง2. ส่วนประกอบของเน็ต 2.1 ส่วนประกอบของเน็ตจะประกอบไปด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส 2.2 ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสา ซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ15.25 เซนติเมตร ( 6 นิ้ว) และยื่นออกไปจากเส้นข้างของโต๊ะถึงตัวเสาต้านละ 15.25 เซนติเมตร ( 6 นิ้ว) 2.3 ส่วนบนสุดของตาข่ายตลอดแนวยาว จะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร 2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะและส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ 2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล เน็ตที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องเป็นสีเดียวกันกับโต๊ะที่ใช้แข่งขัน 3. ลูกเทเบิลเทนนิส 3.1 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร 3.2 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม 3.3 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว สีเหลือง หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน 3.4 ลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง 4. ไม้เทเบิลเทนนิส 4.1 ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง 4.2 อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ , กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหน้าไม้หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า 4.3 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ในการตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับ วัสดุนั้นจะเป็นยางเม็ดธรรมดาแผ่นเดียวกัน โดยหันเอาเม็ดออกมาด้านนอกและไม่มีฟองน้ำรองรับ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหน้าทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางแผ่นเดียวกันชนิดมีฟองน้ำรองรับโดยจะหันเอาเม็ดอยู่ด้านในหรือเอาเม็ดอยู่ด้านนอกก็ได้ ยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร 4.3.1) แผ่นยางเม็ดธรรมดา จะต้องเป็นชิ้นเดียวและไม่มีฟองน้ำรองรับจะทำด้วยยางหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 50 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 4.3.2) แผ่นยางชนิดมีฟองน้ำ ประกอบด้วยฟองน้ำชิ้นเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางเม็ดธรรมดาชิ้นเดียว ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร 4.4 วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้นๆ และจะต้องไม่เกินขอบของหน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้ามจับ 4.5 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้และชั้นของวัสดุปิดทับต่างๆ หรือกาวจะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด 4.6 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ โดยไม่คำนึงว่าหน้าไม้นั้นจะใช้ตีลูกเทเบิลเทนนิสหรือไม่ และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง ตามขอบของไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องไม่เป็นสีสะท้อนแสงหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นสีขาว 4.7 วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อยี่ห้อและชนิด ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ครั้งหลังสุดเท่านั้น 4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูป หรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น 4.9 การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับหรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาด เนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจาง อาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้หรือผิววัสดุปิดทับ 4.10 เมื่อเริ่มการแข่งขันและเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขันและกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง 4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามระเบียบและกติกา 4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด 5. คำจำกัดความ 5.1 การตีโต้ หมายถึง ระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น 5.2 ลูกอยู่ในการเล่น หมายถึง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้หยุดนิ่งบนฝ่ามืออิสระก่อนการส่งลูกในจังหวะสุดท้าย จนกระทั่งลูกนั้นถูกสั่งให้เป็นเล็ทหรือได้คะแนน 5.3 การส่งใหม่ ( LET ) หมายถึง การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน 5.4 การได้คะแนน หมายถึง การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน 5.5 มือที่ถือไม้ หมายถึง มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส 5.6 มืออิสระ หมายถึง มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส 5.7 การตีลูก หมายถึง การที่ผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่หรือสัมผัสลูกตั้งแต่ข้อมือของมือในขณะที่ถือไม้ลงไป 5.8 การขวางลูก หมายถึง ขณะที่ลูกกำลังอยู่ในการเล่น และฝ่ายตรงข้ามตีลูกมาโดยลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง ปรากฏว่าผู้เล่นหรือสิ่งใดๆ ที่เขาสวมใส่หรือถึออยู่ของผู้เล่นฝ่ายนั้นได้สัมผัสถูกลูกขณะที่ลูกนั้นยังไม่ผ่านพื้นผิวโต๊ะและยังไม่พ้นเส้นสกัดหรือผ่านพื้นผิวโต๊ะแล้ว แต่ลูกนั้นยังอยู่ในพื้นที่บนโต๊ะ 5.9 ผู้ส่ง หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรกในการตีโต้ 5.10 ผู้รับ หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งที่สองในการตีโต้ 5.11 ผู้ตัดสิน หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขัน 5.12 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ตัดสินในการตัดสิน 5.13 สิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ตั้งแต่เริ่มการตีโต้ 5.14 ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านข้ามหรืออ้อมหรือลอดส่วนประกอบของเน็ต ถ้าลูกนั้นได้ข้ามผ่านเน็ตไปแล้วและกระดอนกลับด้วยแรงหมุนของมันเอง หรือผ่านด้านข้างหรือด้านใต้ของส่วนประกอบของเน็ตด้านนอกโต๊ะ 5.15 เส้นสกัด หมายรวมถึง เส้นสมมุติที่ลากต่อออกไปจากเส้นสกัดทั้งสองด้านด้วย 6. การส่งลูกที่ถูกต้อง 6.1 เมื่อเริ่มส่งลูก ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามือของมืออิสระ โดยแบบฝ่ามือออกและลูกต้องหยุดนิ่ง โดยลูกนั้นต้องอยู่หลังเส้นสกัดและอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ 6.2 ในการส่งลูก ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉากและให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ 6.3 ผู้ส่งจะตีลูกได้ขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับลงจากจุดสูงสุดแล้ว เพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อนแล้วข้ามตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ 6.4 ทั้งลูกเทเบิลเทนนิสและไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหรือพื้นผิวโต๊ะตลอดเวลาที่เริ่มทำการส่งลูกจนกระทั่งไม้ได้กระทบลูกแล้ว 6.5 ในการส่งลูก ขณะที่ลูกกระทบหน้าไม้จะต้องอยู่นอกเส้นสกัดทางด้านผู้ส่งหรือนอกอาณาเขตเส้นสมมุติที่ต่อออกไปจากเส้นสกัด และต้องไม่เลยส่วนที่ไกลที่สุดของลำตัวออกไปทางด้านหลังโดยวัดจากเส้นสกัด ยกเว้น แขน ศรีษะ หรือขา 6.6 เป็นความรับผิดชอบของเล่นที่จะต้องส่งลูกให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งลูกนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ 6.6.1) ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่งลูก แต่ทั้งเขาและผู้ช่วยผู้ตัดสินไม่มั่นใจว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกตามกติกา ในโอกาสแรกของแมทซ์นั้นจะเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ได้ตัดคะแนน 6.6.2) สำหรับในครั้งต่อไปในแมทซ์เดียวกันนั้น หากผู้ส่งคนเดิมยังคงส่งลูกที่เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือลักษณะน่าสงสัยอื่นๆ อีก ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน 6.6.3) หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันทีโดยไม่มีการเตือน 6.7 ผู้ส่งลูกอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งลูกได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง 7. การรับที่ถูกต้อง 7.1 เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนฝ่ายครงข้ามถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไปเพื่อให้ลูกกระทบอีกแดนหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของเน็ตแล้วตกลงในแดนฝ่ายตรงข้าม 8. ลำดับการเล่น 8.1 ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งลูกอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไป หลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้ 8.2 ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้องตีลูกกลับแล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันในการโต้ลูก 9. ลูกที่ให้ส่งใหม่ LET 9.1 การตีโต้ซึ่งถือให้เป็นการส่งใหม่ จะต้องมีลักษณะดังนี้ 9.1.1) ถ้าลูกที่ฝ่ายส่งได้ส่งไปกระทบส่วนต่างๆ ของเน็ต แล้วข้ามไปในแดนของฝ่ายรับโดยถูกต้อง หรือส่งไปกระทบส่วนต่างๆ ของเน็ตแล้วผู้รับหรือคู่ฝ่ายรับขวางลูกหรือตีลูกก่อนที่ลูกจะตกกระทบแดนของเขาในเส้นสกัด 9.1.2) ในความเห็นของผู้ตัดสิน ถ้าลูกที่ส่งออกไปแล้ว ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับยังไม่พร้อมที่จะรับ โดยมีข้อแม้ว่า ฝ่ายรับหรือคู่ของฝ่ายรับไม่พยายามตีลูก 9.1.3) ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากมีเหตุรบกวนนอกเหนือการควบคุมของผู้เล่นจนทำให้การส่ง การรับ หรือการเล่นนั้นเสียไป 9.1.4) ถ้าการเล่นถูกยุติโดยผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสิน 9.1.5) ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกส่งผิดลำดับ 9.2 การเล่นอาจถูกยุติลงในกรณีต่อไปนี้ 9.2.1) เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในลำดับการส่งลูก การรับลูกหรือการเปลี่ยนแดน 9.2.2) เมื่อการแข่งขันได้ถูกกำหนดให้ใช้ระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา 9.2.3) เพื่อเตือนหรือลงโทษผู้เล่น 9.2.4) ในความเห็นของผู้ตัดสิน หากเห็นว่าสภาพการเล่นถูกรบกวนอันจะเป็นผลต่อการเล่น 10. ได้คะแนน 10.1 นอกเหนือจากการตีโต้จะถูกสั่งให้เป็นเล็ท LET ผู้เล่นจะได้คะแนนจากกรณีดังต่อไปนี้ 10.1.1) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถส่งลูกได้อย่างถูกต้อง 10.1.2) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถรับลูกได้อย่างถูกต้อง 10.1.3) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูก สัมผัสถูกสิ่งใดๆ นอกเหนือจากส่วนประกอบของเน็ต 10.1.4) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกข้ามผ่านเส้นสกัดของเขาโดยไม่ได้สัมผัสกับพื้นผิวโต๊ะ 10.1.5) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขวางลูก 10.1.6) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกติดต่อกันสองครั้ง 10.1.7) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกด้วยหน้าไม้ที่ไม่ถูกต้องตามกติกา 10.1.8) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือสิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่ทำให้พื้นผิวโต๊ะเคลื่อนที่ 10.1.9) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือสิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่สัมผัสถูกส่วนต่างๆ ของเน็ต 10.1.10) ถ้ามืออิสระของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสัมผัสถูกพื้นผิวโต๊ะ 10.1.11) ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกผิดลำดับ 10.1.12) ในระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา ถ้าเขาหรือคู่ของเขาสามารถตีโต้กลับไปได้อย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง 11. เกมการแข่งขัน 11.1 ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ 12. แมทซ์การแข่งขัน 12.1 ในหนึ่งแมทซ์ประกอบด้วยผู้ชนะ 3 ใน 5 เกม หรือ 4 ใน 7 เกม 12.2 การแข่งขันจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายขอสิทธิในการหยุดพักระหว่างจบเกม ซึ่งการพักระหว่างจบเกมจะพักได้ไม่เกิน 1 นาที 13. ลำดับการส่ง การรับ และแดน 13.1สิทธิในการเลือกเสริฟ เลือกรับ และเลือกแดน จะใช้วิธีการเสี่ยงทาย โดยผู้ชนะในการเสี่ยงต้องเลือกเสริฟ หรือ เลือกรับก่อน หรือเลือกแดน 13.2 เมื่อผู้เล่นหรือคู่ของผู้เล่นได้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ผู้เล่นหรือคู่เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายเลือกในหัวข้อที่เหลืออยู่ 13.3 เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 2 ครั้ง ฝ่ายรับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง จากนั้นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันส่งลูกฝ่ายละ 2 ครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน หรือจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากัน หรือเมื่อนำระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลามาใช้ การส่งจะผลัดกันส่งฝ่ายละ 1 ครั้ง 13.4 ในเกมแรกของประเภทคู่ ฝ่ายซึ่งมีสิทธิ์ในการส่งลูกก่อนจะต้องเลือกว่าใครจะเป็นผู้ส่งก่อน จากนั้นฝ่ายรับจะเลือกผู้ที่จะเป็นผู้รับ สำหรับในเกมถัดไปของแมทซ์นั้นฝ่ายส่งในเกมส์นั้นจะเป็นผู้เลือกส่งก่อนบ้าง โดยส่งให้กับผู้ที่ส่งให้เขาในเกมก่อนหน้านั้นเอง 13.5 ในประเภทคู่ ลำดับการเปลี่ยนส่งคือ เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 2 ครั้งแล้ว ผู้รับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง โดยส่งให้กับคู่ของผู้ที่ส่งลูกให้เขา 13.6 ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมแรกจะเป็นฝ่ายรับลูกก่อนในเกมต่อไป สลับกันจนจบแมทซ์ และในเกมสุดท้ายของประเภทคู่ ฝ่ายรับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 6 คะแนน 13.7 ผู้เล่นหรือคู่เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันที เมื่อการแข่งขันในแต่ละเกมสิ้นสุดลง สลับกันจนจบแมทซ์และในการแข่งขันเกมสุดท้ายผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 6 คะแนน 14. การผิดลำดับในการส่ง การรับ และแดน 14.1 ถ้าผู้เล่นส่งหรือรับลูกผิดลำดับ กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ได้ค้นพบข้อผิดพลาดและทำการเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นและผู้รับที่ควรจะเป็นผู้ส่งและผู้รับตามลำดับที่ได้จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมทซ์นั้นต่อจากคะแนนที่ทำได้ สำหรับในประเภทคู่หากไม่สามารถทราบถึงผู้ส่งและผู้รับที่ถูกต้อง ลำดับในการส่งจะถูกจัดให้ถูกต้อง โดยคู่ที่มีสิทธิ์ส่งในครั้งแรกของเกมที่ค้นพบข้อผิดพลาดนั้น 14.2 ถ้าผู้เล่นไม่ได้เปลี่ยนแดนกันเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนแดน กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ทราบ และจะเริ่มเล่นใหม่โดยเปลี่ยนแดนกันให้ถูกต้องตามลำดับที่จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมทซ์นั้นต่อจากคะแนนที่ได้ 14.3 กรณีใดๆ ก็ตาม คะแนนทั้งหมดซึ่งที่ทำไว้ก่อนที่จะค้นพบข้อผิดพลาดให้ถือว่าใช้ได้ 15. ระบบการแข่งขันเร่งเวลา 15.1 ระบบการแข่งเร่งเวลาจะถูกนำมาใช้ถ้าเกมการแข่งขันในเกมนั้นไม่เสร็จสิ้นภายในเวลา 10 นาที ยกเว้นในกรณีที่ผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายมีคะแนนไม่น้อยกว่า 9 คะแนน จะแข่งขันตามระบบเดิมหรือจะใช้ระบบการแข่งขันเร่งเวลาก่อนครบกำหนดเวลาก็ได้ ถ้าผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายต้องการ 15.1.1) ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นนั้นจะถูกยุติลงโดยกรรมการผู้ตัดสินและจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูก โดยผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งลูกอยู่ก่อนที่การตีโต้นั้นถูกยุติลง 15.1.2) ถ้าลูกไม่ได้อยู่ในระหว่างการเล่น และครบกำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นนั้นจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูก โดยผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกอยู่ก่อนที่เวลานั้นจะสิ้นสุดลง 15.2 หลังจากนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะเปลี่ยนกันส่งลูกคนละครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขันและในการตีโต้หากผู้รับหรือคู่เล่นฝ่ายรับสามารถตีโต้กลับมาอย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง ฝ่ายส่งจะเสีย 1 คะแนน 15.3 เมื่อระบบการแข่งขันเร่งเวลานำมาใช้ในเกมใดแล้ว ในเกมที่เหลือของแมทซ์นั้นๆ ให้ใช้ปฎิบัติต่อไปจนกระทั่งจบแมทซ์นั้น 16. เครื่องแต่งกาย 16.1 เสื้อผ้าที่ใช้แข่งขัน ปกติจะประกอบไปด้วยเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้นหรือกระโปรง ถุงเท้าและรองเท้าแข่งขัน ส่วนเสื้อผ้าชนิดอื่นๆ เช่น บางส่วนหรือทั้งหมดของชุดวอร์ม จะไม่อนุญาตให้ใส่ในระหว่างแข่งขัน ยกเว้นได้รับอนุญาตจาผู้ชี้ขาด สำหรับในการแข่งขันระดับภายในประเทศให้ผู้เข้าแข่งขันสอดชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรงทุกครั้ง และเสื้อแข่งขันจะต้องมีปกเท่านั้น 16.2 นอกจากแขนเสื้อและปกของเสื้อแข่งขันแล้ว สีส่วนใหญ่ของเสื้อแข่งขัน กางเกง หรือกระโปรง จะต้องเป็นสีที่แตกต่างกันกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้ในการแข่งขันอย่างชัดเจน 16.3 บนเสื้อแข่งขันอาจมีเครื่องหมายใดๆ ได้ดังนี้ 16.3.1) เครื่องหมายหรือตัวอักษรที่แสดงสังกัดสโมสรที่มิใช่เป็นการโฆษณาบนด้านหน้า หรือด้านข้างของเสื้อแข่งขัน บรรจุในพื้นที่ได้ไม่เกิน 64 ตารางเซ็นติเมตร 16.3.2) ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน อาจมีหมายเลขหรือตัวอักษรแสดงสังกัดหรือแสดงถึงแมทซ์การแข่งขัน 16.3.3) เสื้อผ้าอาจสามารถโฆษณาในขนาดที่กำหนพดไว้ตามข้อ 18.6 16.4) หมายเลขประจำตัวของผู้เล่นที่ติดบนหลังเสื้อจะต้องอยู่ตรงกลางของหลังเสื้อ โดยมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 600 ตา-รางเซ็นติเมตร และมีความเด่นชัดเหนือโฆษณา 16.5 การทำเครื่องหมายหรือการเดินเส้นใดๆ บนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อผ้าหรือวัสดุใดๆ เช่น เครื่องประดับที่สวมใส่จะต้องไม่จับตาหรือสะท้อนแสงไปยังสายตาของฝ่ายตรงข้าม 16.6 รูปแบบของเสื้อผ้า ชุดแข่งขัน ตัวอักษรหรือการออกแบบใดๆ จะต้องเป็นรูปแบบที่เรียบร้อยไม่ทำให้เกมนั้นเสื่อมเสีย 16.7 สำหรับปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของชุดแข่งขัน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด 16.8 ในการแข่งขันประเภททีมและในการแข่งขันประเภทคู่ นักกีฬาที่มาจากสังกัดเดียวกันจะต้องแต่งกายให้มีสีและรูปแบบที่เหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ ยกเว้นถุงเท้าและรองเท้า 16.9 ในการแข่งขันระดับนานาชาติ นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแต่งกายด้วยสีที่แตกต่างกันเพื่อง่ายต่อการสังเกตของผู้ชม 16.10 หากผู้เล่นหรือทีมไม่สามารถตกลงกันได้ในกรณีชุดแข่งขันที่เหมือนกัน จะใช้วิธีการจับฉลาก 17. สภาพของสนามแข่งขัน 17.1 มาตรฐานของพื้นที่แข่งขันจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร กว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร 17.2 พื้นที่การแข่งขันจะถูกล้อมไว้โดยรอบ ซึ่งที่ปิดล้อมหรือแผงกั้น จะมีขนาดสูงประมาณ 75 เซนติเมตร แยกพื้นที่การแข่งขันออกจากผู้ชม โดยแผงกั้นทั้งหมดจะต้องมีสีพื้นเดียวกันและมีสีเข้ม 17.3 ในกาแข่งขันระดับโลกหรือโอลิมปิค ควาสว่างอขงแสงเมื่อวัดจากพื้นผิดโต๊ะแล้วจะต้องมีความเข้มของแสงโดยสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1000 ลักซ์ และแสงสว่างในส่วนอื่นๆ ของพื้นที่สนามแข่งขันจะต้องมีความเข้มของแสงไม่น้อยกว่า 500 ลักซ์ สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ความสว่างบนพื้นผิดโต๊ะจะต้องไม่น้อยกว่า 600 ลักซ์ และพื้นที่สนามแข่งขันไม่น้อยกว่า 400 ลักซ์ 17.4 แหล่งกำเนิดแสงสว่างจะต้องอยู่สูงกว่าพื้นสนามไม่น้อยกว่า 4 เมตร 17.5 ฉากหลังโดยทั่วๆ ไป จะต้องมืด ไม่มีแสงสว่างจากแหล่งกำเนิดไฟอื่นหรือแสงจากธรรมชาติผ่านเข้ามาตราช่อง หรือหน้าต่าง 17.6 พื้นสนามแข่งขันจะต้องไม่เป็นสีสว่างหรือสะท้อนแสง และจะต้องไม่เป็นอิฐ คอนกรีต หรือหิน สำหรับการแข่งขันระดับโลกหรือระดับโอลิมปิค พื้นสนามแข่งขันจะต้องเป็นไม้หรือวัสดุยางสังเคราะห์ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ITTF เท่านั้น 18. การโฆษณา 18.1 การโฆษณาภายในพื้นที่การแข่งขันสามารถทำได้เฉพาะบนอุปกรณ์การแข่งขันโดยไม่มีการต่อเติมออกมาเป็นพิเศษ 18.2 การโฆษณาภายในพื้นที่แข่งขันต้องไม่ใช้หลอดนีออนหรือแสงสว่างสีต่างๆ 18.3 ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ภายในที่ปิดล้อมหรือแผงกั้นลูกจะต้องไม่เป็นสีขาวหรือสีเหลือง และจะต้องมีสีไม่มากกว่า 2 สี โดยมีความสูงไม่เกิน 40 เซนติเมตร 18.4 การโฆษณาบนโต๊ะแข่งขัน อนุญาตให้เฉพาะด้านข้างและด้านหลังตรงขอบโต๊ะเท่านั้น ซึ่งแต่ละโฆษณาจะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 200 ตารางเซ็นติเมตร สำหรับการโฆษณาที่ติดเป็นการถาวรจะติดได้เฉพาะเครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์ หรือชื่อของชนิด และรุ่น เท่านั้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะติดโฆษณาชั่วคราวได้บนขอบโต๊ะด้านหลังและขอบโต๊ะด้านข้างแต่ละด้านๆ ละ 1 ชิ้น 18.5 การโฆษณาบนเก้าอี้หรือโต๊ะผู้ตัดสินหรือบนเครื่องใช้อื่นๆ ภายในพื้นที่การแข่งขันจะต้องมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 750 ตารางเซ็นติเมตร 18.6 การโฆษณาบนเสื้อผ้าของผู้เล่น มีข้อจำกัดดังนี้ 18.6.1) สัญลักษณ์หรือชื่อ เครื่องหมายการค้า จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 24 ตารางเซนติเมตร 18.6.2) บนเสื้อแข่งขันสามารถมีการโฆษณาได้ไม่เกิน 3 ชิ้น โดยจะต้องแยกจากกันอย่างชัดเจนบนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อแข่งขัน ซึ่งการโฆษณาจะมีพื้นที่รวมกันแล้วไม่เกิน 160 ตารางเซนติเมตร 18.6.3) บนกางเกงหรือกระโปรงแข่งขันสามารถมีโฆษณาได้ไม่เกิน 2 ชิ้น โดยจะต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งการโฆษณาจะมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 80 ตารางเซนติเมตร 18.6.4) ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน สามารถมีโฆษณาได้ไม่เกิน 1 ชิ้น และมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 200 ตารางเซนติเมตร 18.7 การโฆษณาบนหมายเลขที่ติดบนด้านหลังของผู้เล่น จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 100 ตารางเซนติเมตร 18.8 การโฆษณาบนเสื้อผ้าของกรรมการผู้ตัดสิน จะมีขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 40 ตารางเซนติเมตร 18.9 ในการแข่งขันระดับนานาชาติ บนผู้เล่นจะต้องไม่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาที่ เป็นอันตราย 19. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการตัดสิน 19.1 ผู้ชี้ขาด 19.1.1) ผู้ชี้ขาดจะต้องถูกแต่งตั้งขึ้นในการแข่งขันแต่ละครั้งเพื่อควบคุมการแข่งขัน โดยชื่อและที่ติดต่อจะต้องเป็นที่ทราบแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันหรือหัวหน้าทีมต่างๆ พอสมควร 19.1.2) ผู้ชี้ขาดมีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ 19.1.2.1 มีหน้าที่เกี่ยวกับการจับฉลากแบ่งสาย 19.1.2.2 จัดทำตารางและกำหนดโต๊ะแข่งขัน 19.1.2.3 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในการแข่งขัน เช่น ผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ฯลฯ 19.1.2.4 ตัดสินปัญหาในเรื่องของการตีความตามกติกาหรือข้อบังคับต่างๆ รวมไปถึงข้อบังคับเกี่ยวกับเสื้อผ้า อุปกรณ์การแข่งขันและสภาพของสนามแข่งขัน 19.1.2.5 ตัดสินว่าผู้เล่นจะสวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้หรือไม่ 19.1.2.6 ตัดสินว่าจะยุติการเล่นเป็นการฉุกเฉินได้หรือไม่ 19.1.2.7 ตัดสินว่าผู้เล่นจะออกนอกพื้นที่การแข่งขันในระหว่างการแข่งขันได้หรือไม่ 19.1.2.8 ตัดสินว่าผู้เล่นจะฝึกซ้อมได้เกินตามเวลาตามที่กำหนดไว้ ได้หรือไม่ 19.1.2.9 มีหน้าที่ที่จะใช้มาตรการลงโทษสำหรับผู้ที่ประพฤติผิดมารยาทหรือละเมิดข้อบังคับอื่นๆ 19.1.2.10 มีหน้าที่ตรวจสอนคุณสมบัติของผู้เล่นให้เป็นไปตามระเบียบการแข่งขัน 19.1.2.11 ตัดสินว่าจะให้ผู้เล่นฝึกซ้อมที่ใดขณะยุติการเล่นฉุกเฉิน 19.1.2.12 มีหน้าที่ในการอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ตัดสิน ฯลฯ 19.1.3) หากหน้าที่ต่างๆ ที่กล่าวมา คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำหน้าที่แทน หน้าที่ ชื่อและที่ติดต่อของบุคคลนั้นจะต้องเป็นทราบแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันหรือหัวหน้าทีมต่างๆ ตามสมควร 19.1.4) ผู้ชี้ขาดหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบรองลงไป จะต้องอยู่ ณ ที่แข่งขันตลอดเวลาการแข่งขัน 19.1.5) ผู้ชี้ขาดสามารถที่จะลงทำหน้าที่แทนผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือเจ้าหน้าที่นับครั้งได้ทุกโอกาส แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ได้ตัดสินไปแล้วในปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริง 19.2 ผู้ตัดสิน 19.2.1) ผู้ตัดสินจะถูกแต่งตั้งขึ้นในแต่ละแมทซ์ โดยจะนั่งหรือยืนตรงด้านข้างของโต๊ะในแนวเดียวกันกับเน็ต และห่างจากโต๊ะประมาณ 2-3 เมตร 19.2.2) ผู้ตัดสินมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ 19.2.2.1 ตรวจอุปกรณ์และดูแลสภาพความเรียบร้อยของสนามแข่งขันและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันทีที่สภาพสนามบกพร่อง 19.2.2.2 ทำหน้าที่ในการสุ่ม เพื่อเลือกลูกเทเบิลเทนนิสในกรณีที่ผู้เล่นไม่สามารถตกลงกันได้ 19.2.2.3 ทำหน้าที่ในการเสี่ยง เพื่อให้ผู้เล่นเลือกส่ง เลือกรับ หรือเลือกแดน 19.2.2.4 ตัดสินใจผ่อนผันในการส่งลูกของผู้เล่นที่หย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย 19.2.2.5 ควบคุมลำดับการส่ง การรับ การเปลี่ยนแดน และแก้ไขในกรณีที่ผิดพลาด 19.2.2.6 ตัดสินผลของการตีโต้ว่าได้คะแนนหรือเล็ท 19.2.2.7 ทำหน้าที่ในการขานคะแนนและใช้สัญญาณมือตามข้อ 19.2.3 19.2.2.8 เป็นผู้แนะนำระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลา 19.2.2.9 ควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง 19.2.2.10 ควบคุมการแนะนำหรือการสอนของผู้เล่น และมารยาทความประพฤติของผู้เล่นให้เป็นไปตามกติกา 19.2.3) ผู้ตัดสินจะใช้สัญญาณมือเพื่อช่วยในการตัดสินควบคู่ไปกับการขานคะแนน ดังนี้ 19.2.3.1 เมื่อได้คะแนน ผู้ตัดสินจะกำมือโดยหันหน้ามือออก ยกกำปั้นขึ้นมาระดับหัวไหล่ด้านของฝ่ายที่ได้คะแนน 19.2.3.2 ในตอนเริ่มเกมหรือในการเปลี่ยนส่ง ผู้ตัดสินจะผายมือไปยังแดนหรือฝ่ายนั้นๆ 19.2.3.3 เมื่อการแข่งขันเป็นเล็ท ผู้ตัดสินจะยกมือไปข้างหน้าเหนือศรีษะ เพื่อแสดงว่าการตีนั้นหยุดลง 19.2.3.4 เมื่อลูกถูกขอบด้านบนโต๊ะ ผู้ตัดสินจะชี้มือไปยังจุดที่ลูกสัมผัสถูกขอบโต๊ะ 19.2.3.5 ขณะเปลี่ยนแดนในครึ่งเกมสุดท้าย ผู้ตัดสินจะไขว้มือทั้ง 2 ข้างในระดับอก เพื่อให้ผู้เล่นเปลี่ยนแดน 19.3 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 19.3.1) ผู้ช่วยผู้ตัดสินจะถูกแต่งตั้งขึ้นในแต่ละแมทซ์ จำนวน 1-2 คน โดยนั่งตรงข้ามกับผู้ตัดสิน ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน จะนั่งแนวเดียวกันกับเน็ต หากมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน แต่ละคนจะนั่งแนวเดียวกันกับเส้นสกัดแต่ละด้าน 19.3.2) ผู้ช่วยผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกเทเบิลเทนนิสสัมผัสถุกขอบโต๊ะหรือไม่ ในด้านที่ใกล้ที่สุดกับตนเอง 19.3.3) ทั้งผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจจะตัดสินใจดังนี้ 19.3.3.1 พิจารณาลักษณะการส่งลูกของผู้เล่นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ 19.3.3.2 ในการส่งลูก ลูกนั้นสัมผัสถูกเน็ตหรือไม่ 19.3.3.3 พิจารณาว่าผู้เล่นขวางลูกหรือไม่ 19.3.3.4 ในขณะแข่งขันมีส่งที่เข้ามารบกวนอันจะมีผลต่อการแข่งขันหรือไม่ 19.3.3.5 รักษาเวลาในการฝึกซ้อม ในการเล่น หรือในขณะหยุดพัก 19.3.4) การตัดสินใดๆ ของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินตามข้อ 19.3.3) จะต้องไม่ก้าวก่ายต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่แต่งตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ 19.3.5) ถ้าแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่จะทำหน้าที่ตามข้อ 19.3.2 , 19.3.3.1 และ 19.3.3.3 และในการขานอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับโต๊ะและผู้เล่นในด้านของเขา 19.3.6) ในการแข่งขันระบบเร่งเวลา หากมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่นับจำนวนครั้งขึ้นมาต่างหาก ถ้ามีผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน ผู้ช่วยผู้ตัดสินจะเป็นผู้นับจำนวนครั้ง โดยผู้นับคือผู้ช่วยผู้ตัดสินที่อยู่ใกล้กับผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับ 20. การประท้วง 20.1 จะไม่มีการตกลงกันเองของผู้เล่นหรือหัวหน้าทีมที่จะเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เกมการแข่งขันเกิดปัญหาขึ้นตามข้อเท็จจริง หรือเปลี่ยนแปลงการตีความตามกติกาหรือกฎข้อบังคับของผู้ชี้ขาด หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจัดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน 20.2 การประท้วงจะต้องไม่คัดค้านต่อการตัดสินของผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่ในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง หรือประท้วงในการตัดสินของผู้ชี้ขาดในกรณีที่เกี่ยวกับการตีความตามกติกาหรือกฏข้อบังคับ 20.3 การประท้วงเกี่ยวกับการตัดสินของผู้ตัดสินในกรณีเกี่ยวกับการตีความในปัญหาของกติกาหรือกฏข้อบังคับ ให้ทำการประท้วงต่อผู้ชี้ขาด และการตัดสินของผู้ชี้ขาดถือว่าสิ้นสุด 20.4 การประท้วงเกี่ยวกับการตัดสินของผู้ชี้ขาดในกรณีเกี่ยวกับปัญหาของการจัดการแข่งขันนอกเหนือจากกติกาหรือกฎข้อบังคับ ให้ทำการประท้วงต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน และการตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือว่าสิ้นสุด 20.5 การแข่งขันประเภทบุคคล การประท้วงจะทำได้เฉพาะผู้เล่นซึ่งเป็นคู่กรณีในแมทซ์ที่ปัญหาได้เกิดขึ้น และในการแข่งขันประเภททีม การประท้วงจะทำได้เฉพาะหัวหน้าทีมซึ่งเป็นคู่กรณีในแมทซ์ที่ปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้น 20.6 ปัญหาการตีความตามกติกาหรือกฏข้อบังคับที่เกิดจากการตัดสินของผู้ชี้ขาดหรือปัญหาของการจัดการแข่งขันหรือดำเนินการแข่งขันที่เกิดขึ้นจากการตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ผู้เล่นหรือหัวหน้าทีมอาจจะประท้วงผ่านต้นสังกัดหรือสโมสรของตนไปยังสมาคมก็ได้ สำหรับการพิจารณาของสมาคมจะพิจารณาหาข้อปฏิบัติสำหรับการตัดสินต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้จะไม่มีผลต่อคำตัดสินในครั้งที่ผ่านมาใดๆ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วโดยผู้ชี้ขาดหรือคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่รับผิดชอบ 21. การดำเนินการแข่งขัน 21.1 ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้ฝึกซ้อมบนโต๊ะแข่งขันเป็นเวลาไม่เกิน 2 นาที ก่อนการแข่งขัน สำหรับในช่วงเวลาระหว่างการแข่งขันจะไม่สามารถทำการฝึกซ้อมได้ ซึ่งการฝึกซ้อมนอกเหนือจากที่กล่าวมาอาจจะขยายออกไปได้โดยการอนุญาตของผู้ชี้ขาด 21.2 ถ้าแมทซ์การแข่งขันไม่สามารถเริ่มได้เนื่องจากผู้เล่นไม่สามารถตกลงกันได้ในการเลือกลูกแข่งขัน ผู้ตัดสินจะเป็นผู้เลือกให้โดยวิธีการสุ่มและถ้าผู้เล่นยังปฏิเสธอยู่อาจจะถูกปรับเป็นแพ้โดยผู้ชี้ขาด 21.3 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินอาจจะอนุญาตให้หยุดเพื่อทำการเช็ดเหงื่อได้ในช่วงเวลาอันสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็นซึ่งจะสามารถทำได้เมื่อครบทุกๆ 5 คะแนนเท่านั้น และเมื่อขณะเปลี่ยนแดนกันในเกมสุดท้าย 21.4 ถ้าไม้เทเบิลเทนนิสของผู้เล่นหักในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนไม้อันใหม่ทันทีด้วยไม้ของผู้เล่นที่นำติดตัวเข้ามาในพื้นที่การแข่งขันหรือไม้ที่ถูกส่งให้กับผู้เล่นในพื้นที่การแข่งขันก็ได้ 21.5 ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตอย่างมีเหตุผลที่จะตรวจสอบอุปกรณ์ที่เปลี่ยนใหม่อันเกิดจากการชำรุด เช่น ไม้เทเบิลเทนนิสหรือลูกเทเบิลเทนนิสที่ชำรุด แต่ก็จะไม่มากไปกว่าการฝึกตีโต้ 2-3 ครั้งก่อนการเล่นใหม่ 21.6 ผู้เล่นจะต้องวางไม้เทเบิลเทนนิสของเขาบนโต๊ะแข่งขัน ระหว่างช่วงหยุดพักระหว่างเกม 21.7 ผู้เล่นจะต้องอยู่ในพื้นที่การแข่งขันหรือใกล้พื้นที่การแข่งขันตลอดเวลาการแข่งขันนั้น โดยในการหยุดพักระหว่างเกมผู้เล่นจะต้องอยู่ในระยะไม่เกิน 3 เมตร ของพื้นที่การแข่งขัน ภายใต้การควบคุมของผู้ตัดสิน การออกนอกระยะดังกล่าวสามารถทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาด 22. การยุติการเล่นฉุกเฉิน 22.1 ผู้ชี้ขาดอาจจะอนุญาตให้ยุติการเล่นชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นที่สุด ซึ่งจะไม่เกิน 10 นาที ถ้าผู้เล่นไม่สามารถเล่นได้เนื่องจากอุบัติเหตุ โดยมีเงื่อนไขว่า ในความเห็นของผู้ชี้ขาดการยุติการเล่นชั่วคราวนั้นไม่น่าจะทำให้ผู้เล่นหรือคู่เล่นฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบเกินควร 22.2 การยุติการเล่นชั่วคราวจะไม่อนุญาตสำหรับความไม่พร้อมของร่างกายที่เกิดขึ้นในขณะแข่งขันหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น เช่น ความอ่อนเพลีย ตะคริว หรือความไม่สมบูรณ์ของผู้เล่น เหล่านี้จะไม่อนุญาตให้เป็นการยุติการเล่นฉุกเฉิน การยุติการเล่นฉุกเฉินจะยุติในกรณีที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเท่านั้น เช่น การบาดเจ็บเนื่องจากหกล้ม 22.3 ระหว่างการยุติการเล่นฉุกเฉิน ผู้ชี้ขาดอาจจะอนุญาตให้ผู้เล่นทำการฝึกซ้อมบนโต๊ะแข่งขันนั้นรวมไปถึงโต๊ะแข่งขันอื่นๆ ได้ 23. การแนะนำผู้เล่นหรือการสอนผู้เล่น 23.1 ในการแข่งขันประเภททีม ผู้เล่นจะได้รับคำแนะนำหรือการสอนจากใครก็ได้ แต่ในการแข่งขันประเภทบุคคลผู้เล่นหรือคู่เล่นจะได้รับการสอนจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขัน ถ้าบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งมาทำการสอน ผู้ตัดสินจะใช้ใบแดงไล่บุคคลนั้นออกจากบริเวณพื้นที่แข่งขัน 23.2 ผู้เล่นจะได้รับการสอนในระหว่างหยุดพักระหว่างจบเกม หรือระหว่างช่วงหยุดพักการเล่นชั่วคราวที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากมีบุคคลสอนผู้เล่นในขณะแข่งขัน ผู้ตัดสินจะใช้ใบเหลืองและเตือนบุคคลนั้นไม่ให้กระทำเช่นนั้นอีก และแจ้งให้ทราบว่าในครั้งต่อไปจะให้ออกจากบริเวณพื้นที่แข่งขัน 23.3 หลังจากผู้ตัดสินได้เตือนแล้ว หากมีบุคคลในทีมหรือบุคคลอื่นที่ทำการสอนอย่างผิดกติกาอีก ผู้ตัดสินจะใช้ใบแดงไล่ออกจากพื้นที่การแข่งขันไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ถูกเตือนมาก่อนหน้านั้นหรือไม่ก็ตาม 23.4 ในการแข่งขันประเภททีม ผู้สอนที่ถูกไล่ออกจากพื้นที่แข่งขันจะไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก จนกระทั่งจบการแข่งขันประเภททีม ยกเว้นเขาผู้นั้นต้องลงทำการแข่งขัน สำหรับประเภทบุคคลผู้สอนไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีกจนกระทั่งจบการแข่งขันแมทซ์นั้น 23.5 ถ้าผู้สอนปฏิเสธที่จะออกจากพื้นที่การแข่งขัน หรือกลับเข้ามาในพื้นที่การแข่งขันก่อนที่การแข่งขันจะเสร็จสิ้น ผู้ตัดสินจะยุติการเล่นและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันที 24. ความประพฤติ 24.1 ผู้เล่นและผู้ฝึกสอน จะต้องไม่ทำกติกาหรือความประพฤติที่ไม่ดีอันจะมีผลต่อฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ชม หรือทำให้เกมการแข่งขันเกิดความเสียหาย ความประพฤติดังกล่าว เช่น จงใจทำให้ลูกแตก,เคาะโต๊ะด้วยไม้เทเบิลเทนนิส,พูดคำหยาบ หรือจงใจตะโกนด้วยเสียงดังอันควร, แกล้งตีลูกเทเบิลเทนนิสให้ออกจากพื้นที่แข่งขัน หรือการไม่เคารพเชื่อฟังผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนละเมิดข้อบังคับในการสอนผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน 24.2 เมื่อผู้ตัดสินได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอนทำความประพฤติไม่ดีดังกล่าว ผู้ตัดสินจะให้ใบเหลืองและเตือนถึงการลงโทษหากยังกระทำอยู่อีก สำหรับในประเภทคู่ การเตือนผู้เล่นคนหนึ่งหมายถึงมีผลต่อทั้ง 2 คนด้วย 24.3 หลังจากที่ได้รับการเตือนแล้ว ถ้าผู้เล่นยังกระทำลักษณะดังกล่าวอีกหรือลักษณะอื่นๆ อีก ผู้ตัดสินจะให้ 1 คะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม หลังจากนั้นหากยังกระทำอยู่อีกผู้ตัดสินจะให้คะแนน 2 คะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งในการให้คะแนนแต่ละครั้งผู้ตัดสินจะใช้ใบเหลืองและใบแดงชูขึ้นพร้อมกัน ทั้งนี้ยกเว้นกรณี 24.5 24.4 หลังจากผู้แนะนำหรือผู้สอนได้รับการเตือนแล้ว แต่ยังกระทำอยู่อีก ผู้ตัดสินจะไล่เขาออกจากพื้นที่โดยใช้ใบแดง ซึ่งเขาจะกลับมาไม่ได้จนกว่าการแข่งขันในประเภททีมนั้นได้เสร็จสิ้นลงหรือจบการแข่งขันในคู่นั้นสำหรับประเภทบุคคล ทั้งนี้ยกเว้นกรณีข้อ 24.5 24.5 ถ้าผู้เล่นได้ถูกลงโทษในเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติโดยให้คะแนนแก่ฝ่ายตรงข้าม 2 ครั้งแล้วแต่ยังกระทำอยู่อีก หรือเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นหรือผู้สอนทำการละเมิดอย่างร้ายแรง ผู้ตัดสินจะยุติการเล่นและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันที 24.6 ผู้ชี้ขาดอาจจะใช้มาตรการทางวินัยแก่ผู้เล่นภายใต้ดุลยพินิจของเขาสำหรับความประพฤติที่ไม่สมควร ก้าวร้าว ฯลฯ โดยอาจจะไล่ผู้เล่นออกจากแมทซ์การแข่งขันในประเภทนั้นๆ หรือการแข่งขันทั้งหมดโดยการใช้ใบแดง แม้ว่าผู้ตัดสินจะรายงานให้ทราบหรือไม่ก็ตาม 24.7 ถ้าผู้เล่นถูกไล่ออก 2 ครั้งในประเภททีม หรือ 2 ครั้งในประเภทบุคคลในแมทซ์นั้น ผู้เล่นจะถูกออกจากการแข่งขันในประเภททีมหรือประเภทบุคคลในแมทซ์นั้นโดยอัตโนมัติ 24.8 ถ้าพบว่าผู้เล่นได้เปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสของเขาในระหว่างการเล่นโดยไม่แจ้งให้ผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้ามทราบ ผู้ตัดสินจะยุติการเล่นและรายงานต่อผู้ชี้ขาดทันที ในโอกาสแรกผู้ชี้ขาดจะเตือนผู้เล่น หากยังกระทำอีกจะถูกปรับเป็นแพ้โดยผู้ชี้ขาด 25. การแข่งขันประเภททีม 25.1 ในการแข่งขันประเภททีมจะทำการแข่งขันแบบ SWAYTHLING CUP หรือ CORBILLON CUP หรือระบบอื่นๆ ซึ่งจะต้องระบุลงในระเบียบการแข่งขันนั้นๆ 25.2 การแข่งขันแบบ SWAYTHLING CUP จะต้องประกอบด้วยผู้เล่น 3 คน โดยก่อนการแข่งขันหัวหน้าทีมจะต้องมาจับฉลากเสี่ยงว่าทีมใดจะได้ทีม A,B,C หรือ X,Y,Z 25.2.1) ลำดับการแข่งขันแบบ SWAYTHLING CUP มีดังนี้ คู่ที่ 1 A - X คู่ที่ 2ฺ B – Y คู่ที่ 3 C – Z คู่ที่ 4 A – Y คู่ที่ 5 B – X 25.2.2) การแข่งขันแต่ละคู่จะแข่งขันรู้ผลแพ้ชนะ 2 ใน 3 เกม และทีมแมทซ์จะถือผลแพ้ชนะ 3 ใน 5 คู่ 25.3 การแข่งขันแบบ CORBILLION CUP จะประกอบด้วยผู้เล่น 2 , 3 หรือ 4 คน โดยก่อนการแข่งขันหัวหน้าทีมจะต้องมาจับฉลากเสี่ยงว่าทีมใดจะได้ทีม A,B,C หรือ X,Y,Z 25.2.1) ลำดับการแข่งขันแบบ CORBILLION CUP มีดังนี้ คู่ที่ 1 A – X คู่ที่ 2 B – Y คู่ที่ 3 ประเภทคู่ คู่ที่ 4 A – Y คู่ที่ 5 B – X 25.3.2) การแข่งขันแต่ละคู่จะเป็นการแข่งขันประเภทเดี่ยว ยกเว้นในคู่ที่ 3 เป็นการแข่งขันประเภทคู่ ซึ่งประเภทคู่นี้จะส่งรายชื่อหลังจากการแข่งขันประเภทเดี่ยวคู่ที่ 2 เสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้ โดยจะต้องเป็นผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในทีม 25.3.3) การแข่งขันแต่ละคู่จะแข่งขันรู้ผลแพ้ชนะ 2 ใน 3 เกม และทีมแมทซ์จะถือผลแพ้ชนะ 3 ใน 5 คู่ 25.3.4) เมื่อจบการแข่งขันในแต่ละคู่ ผู้เล่นจะสามารถหยุดพักได้ไม่เกิน 5 นาที 26. การแข่งขันแบบแพ้คัดออก 26.1 จำนวนตำแหน่งของระบบการแข่งขันแพ้คัดออกจะต้องมีจำนวนเป็น 2 เท่า เช่น 2 , 4 , 8 , 16 , 32 เป็นต้น 26.2 ถ้าจำนวนผู้เล่นมีน้อยกว่าตำแหน่ง ให้ใส่ ชนะผ่าน (BYE) เพิ่มเข้าไปในรอบแรก 26.3 ถ้าจำนวนผู้เล่นมีมากกว่าตำแหน่ง ให้ใส่รอบคัดเลือก (QUALIFIERS) 26.4 การชนะผ่าน (BYE) หรือการคัดเลือก (QUALIFIERS) จะต้องกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยการชนะผ่าน (BYE) จะต้องอยู่กับมือวางอันดับแรก 26.5 การวางมืออันดับ 26.5.1) ผู้เล่นที่มีฝีมือดีตามอันดับจะต้องถูกวางตัวเพื่อไม่ให้พบกันก่อนที่จะถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขัน 26.5.2) ผู้เล่นที่มีจากสโมสรเดียวกันจะถูกจับแยกกันให้แยกกันให้ห่างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อไม่ไห้พบกันก่อนที่จะถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขัน 26.5.3) ผู้เล่นมือวางอันดับ 1 จะถูกจัดให้อยู่บนสุด ผู้เล่นมืออันดับ 2 ถูกจัดให้อยู่ล่างสุด ผู้เล่นมือวางอันดับ 3 - 4 จะจับฉลากระหว่างผู้เล่นมือ 1 - 2 26.5.4) ผู้เล่นมือวางอันดับ 5 – 8 จะจับฉลากอยู่ระหว่างผู้เล่นตามข้อ 26.5.3 26.5.5) ผู้เล่นมือวางอันดับ 9 – 16 จะจับฉลากอยู่ระหว่าง ผู้เล่นตามข้อ 26.5.4 ตามลำดับ 27. กำหนดการแข่งขัน 27.1 ในการแข่งขันระดับภายในประเทศ ผู้เล่นจะต้องทำการแข่งขันตามที่กำหนด หากเลยเวลาแข่งขันให้ปรับเป็นแพ้โดยผู้ชี้ขาด ดังนี้ 27.1.1) ประเภทบุคคล ให้เวลา 5 นาที นับจากกำหนดเวลาแข่งขัน หรือหากเลยกำหนดเวลาแข่งขันแล้วให้นับจากเวลาที่เรียกลงทำการแข่งขัน 27.1.2) ประเภททีม ให้เวลา 15 นาที นับจากกำหนดเวลาแข่งขันหรือหากเลยกำหนดเวลาแข่งขันแล้วนับจากเวลาที่เรียกมาจับฉลาก คือโดยจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คนในการแข่งขันระบบ CORBILLION CUP และจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันระบบ SWAYTHLING CUP 27.2 เวลาที่ระบุไว้ตามข้อ 27.1.1 , 27.1.2 นี้ อาจอนุญาตขยายออกไปได้โดยการอนุญาตของผู้ชี้ขาด 28. การคิดคะแนนในการแข่งขันแบบวนพบกันหมด 28.1 ในการแข่งขันแบบวนพบกันหมด ผู้เล่นหรือทีมภายในกลุ่มนั้นต้องแข่งขันพบกันทุกทีมโดยผู้ชนะ จะได้ 2 คะแนน ผู้แพ้จะได้ 1 คะแนน และผู้ที่ไม่แข่งขันหรือแข่งขันไม่เสร็จสิ้น จะได้ 0 คะแนน และการจัดอันดับจะดูผลจากคะแนนแมทซ์นี้เป็นอันดับแรก 28.2 ถ้าผู้เล่น / ทีมที่มีคะแนนแมทซ์เท่ากันตั้งแต่ 2 คน / ทีมขึ้นไป การจัดอันดับให้ดูผลการแข่งขันเฉพาะคน / ทีม ที่มีคะแนนเท่ากันเท่านั้น โดยใช้ผลแพ้ชนะของบุคคล (สำหรับประเภททีม) เกม หรือ คะแนน ตามลำดับจนกว่าจะได้ข้อยุติ ซึ่งวิธีการคิดคะแนนในแต่ละขั้นตอนให้ใช้คะแนนได้ หารด้วยคะแนนเสีย 28.3 ในการคิดคะแนนตามขั้นตอนหากมีหนึ่งหรือมีมากกว่าหนึ่งในกลุ่มนั้นแสดงผลต่างขณะที่ส่วนอื่นๆ ยังมีคะแนนเท่ากันอยู่ ผลการแข่งขันของผู้ที่เท่ากันนั้นจะถูกคำนวณย่อยต่อไปตามลำดับ คือ ผลบุคคล (สำหรับประเภททีม)จำนวนเกม คะแนนในเกม 28.4 หากคิดคะแนนตามข้อ 28.1 , 28.2 และ 28.3 แล้วยังมีคะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีการจับฉลาก

ความเป็นมาของปิงปอง

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส ที่มาของกีฬาเทเบิลเทนนิส (Table tennis) หรือปิงปอง ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ไม่มีประวัติความเป็นมาในสมัยโรมันหรือกรีกเช่นเดียวกับกีฬาประเภทอื่น แม้รัสเซียก็เคยอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นมาก่อนใคร แต่อังกฤษอ้างว่าตนเป็นต้นกำเนิดแล้วก็ไม่มีใครไปคัดค้าน แต่มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาเช่นเดียวกับลอนเทนนิส แต่แหล่งกำเนิดยังเป็นที่สงสัย Frank Monke ได้เขียนแนะนำไว้โดยให้ข้อสันนิษฐานว่ากำเนิดมาจากกีฬา 2 ชนิดคือ

1. กีฬาในร่มของเทนนิส เริ่มเล่นครั้งแรกในรัฐแมสซาชูเซตส์ ราวศตวรรษที่ 19 ( พ.ศ. 2433)

2. สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในอินเดีย โดยทหารอังกฤษได้นำมาเล่นเป็นกีฬากลางแจ้ง การเล่นจะใช้ไม้กระดานเป็นตาข่ายแบ่งแดน บ้างก็ว่ากำเนิดมาจากแอฟริกาใต้ แต่ที่หาหลักฐานได้คือ อังกฤษมีการโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิสชายในหนังสือกีฬาของอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2423 แต่ลูกที่ใช้ในสมัยนั้น ( พ.ศ. 2393) ใช้ลูกบอลทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง ซึ่งแข็งเกินไป

จากการศึกษาค้นคว้าการริเริ่มของกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยพิจารณาถึงจุดร่วมกันของเทเบิลเทนนิส เทนนิส และแบดมินตัน จะเห็นได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาของเทนนิสมากกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ หลังศตวรรษที่ 19 เทเบิลเทนนิสเล่นกันในห้อง (ในที่ร่ม) ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ไม้ยางชนิดหนึ่งขึ้นมา จึงเล่นกันกลางแจ้ง แต่ถ้าเมื่อใดอากาศไม่ดีก็กลับมาเล่นในห้องอีก จึงเรียกกันว่า เทเบิลเทนนิสขนาดเล็ก

แม้จะมีคนคิดปิงปองขึ้นมาเป็นแบบย่อของกีฬาเทนนิส เมื่อใกล้จะสิ้นศตวรรษที่แล้วก็ตาม แต่ความจริงแล้ว เทเบิลเทนนิสเคยเป็นกีฬาประจำราชสำนักในสมัยศตวรรษที่ 12 เราไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้มาให้เราเล่นจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้แต่ประเทศต้นกำเนิดดั้งเดิมทั้งอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอินเดีย และแอฟริกาใต้ ล้วนแต่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่เกิดกีฬาชนิดนี้ แต่ก็มีคนส่วนมากยอมรับว่าปิงปองเริ่มมีครั้งแรกในอังกฤษ เพราะแม้แต่คนที่กล่าวว่าเทเบิลเทนนิสเริ่มเล่นในอินเดียและแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก ยังเห็นพ้องกันว่าทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่นั่นอาจจะมีส่วนนำปิงปองเข้ามายังประเทศทั้งสอง

ด้วยกฎเกณฑ์ง่ายๆ วัสดุที่มีราคาถูก และประกอบได้อย่างง่ายดายทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในพระราชฐาน และตามท้องถนน พระเจ้ายอร์จที่ 6 แห่งประเทศอังกฤษ ทรงโปรดฯ ให้ตั้งโต๊ะปิงปองขึ้นในพระราชวังบัคกิ้งแฮม และในสมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทรงจัดหากีฬาชนิดนี้ไว้ให้พระราชธิดา (เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ) ได้สนุกสนานที่พระราชวังบัลมอรอลเช่นเดียวกับพระเจ้ายอร์จที่ 6 พระเจ้าซาร์แห่งปอเซีย บัณฑิตเนห์รูแห่งอินเดีย และกษัตริย์ฟารุคแห่งอียิปต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ส่งเสริมกีฬาทั้งนั้น นักกีฬาทุกประเภทได้ยอมรับว่า ปิงปองเป็นทางวิเศษที่จะกำหนดกีฬาเฉพาะตัวของเขา เพราะปิงปองรวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองให้ทั้งความคล่องตัวในการเล่น ทำให้ฟุตเวิร์กดีและมีความฉับไวทั้งในการบุกและความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็ว รวมกันแล้วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด นักจิตวิทยาทางอุตสาหกรรม ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนสูงขึ้น เขากล่าวว่า หลังจากได้เล่นเทเบิลเทนนิสสักเกมแล้ว คนงานก็จะกลับไปทำงานด้วยความสดชื่น และด้วยพละกำลังที่เพิ่มขึ้นอย่างประหลาด เทเบิลเทนนิสจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีที่มีคุณค่าที่สุดที่จะทำให้สายตาและจิตใจสัมพันธ์กันได้ดีมากขึ้น

เมื่อเริ่มมีการเล่นใหม่ๆ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นในห้องรับแขกในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย วัสดุที่ใช้ในสมัยนั้นส่วนมากเป็นวัสดุที่ทำขึ้นเอง โดยมิได้เตรียมมาก่อน ลูกปิงปองทำจากเส้นด้าย ใช้หนังสือวางบนโต๊ะแทนตาข่าย ไม้ตีก็ตัดจากกระดาษแข็งหนาๆ ซึ่งหนังสือเก่าๆ ที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนี้ได้แนะนำว่าห้องที่ใช้เล่นปิงปองควรจะตกแต่งอย่างโปร่งๆ และเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ ควรจะปกปิดไม่ให้เกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด

ในไม่ช้าวงการค้าเริ่มมองเห็นโอกาสที่จะหาผลประโยชน์จากเครื่องเล่นชนิดนี้ และเริ่มต้นผลิตวัสดุในการเล่นที่เหมาะสมกว่าที่เคยทำกันเองในขณะนั้น การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิตก่อให้เกิดการตื่นตัวในกีฬาประเภทนี้อย่างมากมาย บริษัทที่กล่าวกันว่าเป็นบริษัทแรกที่เริ่มพัฒนากีฬาที่เรียกว่า เทเบิลในร่ม คือบริษัท Parker Brothers of Salem แห่งเมืองแมสซาชูเซตส์ เป็นบริษัทอเมริกันที่ผลิตสินค้ากีฬาทุกชนิด และได้ส่งสินค้าเข้าไปขายในอังกฤษ

ลูกปิงปองที่ผลิตขึ้นในลักขณะนั้นทำด้วยยางหรือไม้ก๊อก หรือมักจะหุ้มด้วยยางหรือผ้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายกับโต๊ะ และให้ลูกปิงปองหมุน รูปร่างและวัสดุที่ใช้ยังคงแตกต่างกันออกไปเรื่อยๆ ซึ่งตามความจริงแล้วไม่เคยมีขนาดมาตรฐานเลย มีด้ามยาว และส่วนที่ใช้ตีนั้นข้างในจะกลวง และหุ้มด้วยแผ่นหนัง ทำให้รูปร่างคล้ายกลองเล็กๆ ตาข่ายที่ใช้จะขึงข้ามโต๊ะระหว่างเก้าอี้ 2 ตัว เกมหนึ่งๆ จบลงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของผู้เล่นได้แต้ม 21 แต้ม ซึ่งกฎข้อนี้ยังไม่เคยเปลี่ยนจนปัจจุบันนี้

การนำลูกปิงปองที่ข้างในกลวง ซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ (Celluloid) มาใช้ทำให้การเล่นปฏิวัติไปโดยสิ้นเชิง ลูกปิงปองแบบใหม่ให้กำลังในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น่าอัศจรรย์ มีความแม่นยำสูง ส่วนความผิดพลาดมีบ้างเล็กน้อย ต่อมาอังกฤษเริ่มปรับปรุงการเล่นเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรก และมีนักเทเบิลเทนนิสชาวอังกฤษชื่อ Janes Gibb ได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาและบังเอิญได้พบลูกบอลสีต่างๆ ซึ่งเด็กๆ ใช้เป็นของเล่น เมื่อเขากลับประเทศอังกฤษจึงนำมาใช้กับเทเบิลเทนนิส และพบว่ามีประโยชน์มาก เมื่อนักธุรกิจได้เห็นจึงยอมรับความสำคัญของมันในทันที และเริ่มผลิตออกจำหน่าย จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผลักดันให้กีฬาประเภทนี้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การแข่งขันอย่างมากมายทางการค้าทำให้บริษัทต่างๆ จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของตน และมีการตั้งชื่อเรียกสินค้าอย่างหรูหรา ซึ่งปัจจุบันได้ล้มเลิกไปหมดแล้ว เช่น กอสสิมา วิฟท์เว็ฟท์ และฟลิม-แฟลม การเรียกชื่อ "ปิงปอง" นี้เลียนแบบมาจากเสียงซึ่งเกิดจากไม้ตีที่มีขนาดเล็ก และยาวขึ้นด้วยหนังลูกวัวทั้งสองด้าน เมื่อใช้ไม้ตีลูกเซลลูลอยด์จะมีเสียงดัง "ปิง" และเมื่อลูกตกลงกระทบพื้นจะมีเสียงดัง "ปอง" หลังจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงไม้ตี เสียงที่กระทบพื้นจะเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อกีฬาชนิดนี้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็นเทนนิสบนโต๊ะ หรือเทเบิลเทนนิส

เมื่อประชาชนเริ่มตื่นเต้นและนิยมเล่นปิงปองกันอย่างมาก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การเล่นทั่วๆ ไป ซึ่งหลักจากนั้นคนก็เริ่มเบื่อกีฬาที่เรียกว่า ปิงปอง วิฟท์ เว็ฟท์ จนไม่มีใครเล่นอีก ต่อมา Mr. E.C. Good แห่งกรุงลอนดอน เป็นผู้ทำให้ปิงปองกลับมาเป็นที่นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขาเปลี่ยนมาสนใจเทเบิลเทนนิสโดยกะทันหัน เพราะเขามีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงหาวิธีการที่จะบรรเทาอาการโดยที่ใจยังจดจ่อกับการเล่นปิงปองอยู่ เขาจึงไปซื้อยาที่ร้านขายยาและในขณะที่เขาจ่ายเงินค่ายาได้สังเกตเห็นแผ่นยางที่ตอกติดอยู่บนพื้นเคาน์เตอร์ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้านำยางแผ่นนี้ไปวางบนผิวไม้ตีปิงปองคงจะทำให้ควบคุมลูกได้ดีมากขึ้น เขาจึงได้ซื้อแผ่นยางไปจากร้านขายยา ตัดให้ได้สัดส่วนกับไม้แล้วก็ติดกาว เขาเริ่มต้นฝึกหัด และได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความพิเศษของเครื่องมือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ทำให้เขาสามารถเข้าถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันนานาชาติ โดยชนะแชมป์เทเบิลเทนนิสของอังกฤษ และตามตำนานก็กล่าวว่าเขาชนะถึง 50 ต่อ 3 เกม

จากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีใครคิดถึงปิงปองอีก Alicetocrant และประชาชนได้นำมาเล่นใหม่ด้วยความตื่นตัว และได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ในกีฬาชนิดนี้นักปิงปองที่มีชื่อหลายคนได้รับประโยชน์จากไม้ตีที่ปฏิวัติใหม่ทำให้ควบคุมลูกได้ง่าย และได้นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้จนทำให้ปิงปองเป็นเกมรวม แล้วมีลักษณะแตกต่างกันมาก

อย่างไรก็ตาม ราวปี พ.ศ. 2447 เทเบิลเทนนิสก็กลับซบเซาลงอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2464 สมาคมปิงปองได้ตั้งขึ้นในอังกฤษ และยอมใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าปิงปอง ในปีต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสมาคมเทเบิลเทนนิส ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประเทศที่ส่งเสริมกีฬาเทเบิลเทนนิสอย่างแท้จริงเพียง 4 ประเทศคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นลูกเซลลูลอยด์ขึ้นมา ประเทศฮังการี คิดค้นการส่งลูกแบบกระดอน ประเทศอังกฤษ ผู้ซึ่งคิดค้นไม้หุ้มยางออกมาใช้ และประเทศเยอรมันนี เป็นที่ส่งเสริมจนเป็นที่ยอมรับในแง่ของการจัดการแข่งขัน และใช้วางกฎกติกาเล่นต่างๆ

Iver Monthagor บุตรชายของคุณหญิง Sweyling ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้เกิดความสนใจเทเบิลเทนนิส โดยมีเพื่อนๆ นิสิตสนใจเข้าร่วมแข่งขันกัน ในไม่ช้าการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งแรก ระหว่างมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มมีขึ้น และเป็นความคิดริเริ่มของ Iver Monthagor ในการนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สเวย์ลิ่ง คัพ" โดยตั้งตามชื่อของมารดา (คล้ายกับที่ลอนเทนนิสมี "โธมัสคัพ") ซึ่งได้กลายเป็นรางวัลนานาชาติที่นักปิงปองใฝ่ฝันที่สุด

ไม่เป็นที่แปลกประหลาดอะไรเลยในเมื่อปิงปองได้รวมเอาคุณสมบัติต่างๆ เข้าด้วยกัน ปิงปองจึงเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความคล่องแคล้วว่องไวในการเล่น การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี มีความฉับไวในการรุก และความรู้สึกสนองตอบในการรับที่รวดเร็วจึงทำให้ปิงปองกลายเป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความร่าเริงมากที่สุด ทำให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวและนิยมเล่นปิงปองอย่างกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปิงปองได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรป

ปี พ.ศ. 2469 ได้มีการประชุมผู้แทนประเทศต่างๆ ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ หอสมุด Lady Sir Vateting ซึ่งเป็นชื่อมารดาของ Sir Mongtakurr ที่ประชุมได้มีมติผ่านกฎบัตรให้มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในระยะแรกการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งโลกจัดให้มีการแข่งขันปีละครั้ง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง กีฬาเทเบิลเทนนิสได้แพร่หลายทั่วไป จึงได้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นโดยให้จัดประชุมสัมมนาขึ้นที่กรุงบอร์น ประเทศเยอรมันตะวันตก ในปี พ.ศ. 2469 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติขึ้น และได้จดทะเบียนตามกฎหมายเลขที่ 1907

ในการประชุมครั้งนั้นที่ประชุมลงมติให้แต่งตั้ง Sir Mongtakurr เป็นประธานสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติคนแรก ซึ่งในขณะนั้นสหพันธ์ฯ มีสมาชิกกว่า 100 ประเทศ โดยดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ถึง 9 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469-2503 Sir Mongtakurr เกิดที่อังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2448 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ก็ได้ปลดเกษียณจากประธานสหพันธ์ฯ แต่ยังดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกร้อยกว่าประเทศจาก 5 ทวีป เทเบิลเทนนิสจึงกลายเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงค่อนข้างจะโด่งดัง ทำให้ผู้คนทั้งหลายเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น

ในศตวรรษที่ 20 ได้มีนักศึกษาและนักท่องเที่ยวนำเอากีฬาประเภทนี้เข้าสู่ประเทศออสเตรีย ฮังการี และสหรัฐเมริกา

ปี พ.ศ. 2438 ศาสตราจารย์ครุศาสตร์ท่านหนึ่งแห่งโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ได้นำเอาโต๊ะและไม้เทเบิลเทนนิสกลับประเทศญี่ปุ่น ทำให้กีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มแพร่หลายในญี่ปุ่น และได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2462

สมาคมเทเบิลเทนนิสในสหรัฐเมริกา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536

สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500

การเล่นเทเบิลเทนนิสในระยะแรก พวกที่เล่นเก่งๆ มักจะใช้นิ้วเล่นลูกประกอบการตีคือ ยอมให้ผู้ส่งลูกปั่นลูกกับไม้ได้ในตอนส่งโดยใช้นิ้วช่วย การส่งลูกแบบนี้จะทำให้ลูกหมุนมากจนแทบจะรับไม่ได้ ต่อมาจึงได้มีกติกาห้ามการส่งแบบนี้

ในชั้นแรกเกมการเล่นประกอบด้วยการเล่น 2 แบบคือ การตั้งรับ และการตีลูกโต้ ต่อมามีการตีลูกแบบตัด ดังนั้นเทคนิคคือการตั้งรับและการตีลูกตัด ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป

ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ไม้ตีได้มีการทำเป็นยางจุด และทำให้ตีโต้ได้รวดเร็วขึ้น ต่อมาสมัยของ Victor Barnar (แชมป์โลกปี พ.ศ. 2473, 2475, 2476 และ 2477) รูปแบบการเล่นเทนนิสได้ถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์ มีการตอบโต้โดยใช้ลูกหน้ามือและหลังมือด้วยวิธีการจับไม้แบบจับมือ (Shake-Hand grip) ซึ่งเป็นจุดเด่นมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการจับไม้แบบจับปากกา (Penholder grip)

ในปี พ.ศ. 2465 คำว่า "ปิงปอง" ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นเครื่องหมายการค้า ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นข้อหนึ่งทำให้มีการเปลี่ยนชื่อกีฬาประเภทนี้มาเป็นเทเบิลเทนนิส

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471-2492 เป็นช่วงที่ยุโรปเป็นผู้นำทางด้านเทเบิลเทนนิส โดยได้ตำแหน่งชนะเลิศเกือบทุกประเภททั้งชายและหญิง

ในปี พ.ศ. 2483-2490 ได้เกิดสงครามฟาสต์ซิสทำให้การแข่งขันระดับโลกได้หยุดชะงักไประยะหนึ่ง

ญี่ปุ่นได้ร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2472 อังกฤษไม่ได้รับตำแหน่งดั้งเดิมในประเภทนี้เหมือนเมื่อก่อน ประเทศอื่นๆ ได้พัฒนาขึ้นมา และก้าวหน้าไป โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และเชโกสโลวะเกีย แต่ที่สำคัญคือ ฮังการี ซึ่งได้เป็นแชมเปี้ยนโลกหลายสมัย ชาวฮังการีศึกษาและเล่นเกมนี้อย่างจริงจังในเวลาว่าง และได้พัฒนาการเล่นแบบต่างๆ เช่น การรับลูกได้อย่างแน่นอน บางครั้งสามารถรับลูกหลังโต๊ะถึง 25 ฟุต ซึ่งทำให้ชาวฮังกาเรียนเป็นแชมเปี้ยนโลกได้ส่วนใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2480 ชาวอเมริกันจึงได้ชัยชนะทั้งประเภทชายและหญิงในการเดินทางไปแข่งขันที่ประเทศฮังการี ความก้าวหน้าครั้งนี้เป็นเพราะได้รับทักษะจากแชมเปี้ยนส์ชาวฮังกาเรียน ซึ่งเคยแข่งขันท่ามกลางผู้ชมไม่ต่ำกว่า 20,000 คนอยู่เสมอ

นอกจากการเล่นประเภทเดี่ยวแล้ว การเล่นประเภทคู่นับได้ว่าเป็นการเล่นที่สนุกสนานที่สุด ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนกันตีและการเล่นจะเป็นไปอย่างรวดเร็วตลอดการแข่งขัน

ในปี พ.ศ. 2478 ภายหลังที่สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งมา 2 ปี ได้มีการแข่งขันระดับโลกระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรเลีย ปรากฏว่าต้องใช้เวลานานถึง 20 นาที สำหรับคะแนนเพียงคะแนนเดียว และลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีกลับไปกลับมาถึง 1,590 ครั้ง

ปี พ.ศ. 2493-2502 เป็นยุคของญี่ปุ่น โดยสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในโลกด้วยการตีลูกหน้ามือเป็นเกมรุก โดยการใช้ฟุตเวิร์ก ในปี พ.ศ.2495 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 19 ที่บอมเบย์ และในปี พ.ศ. 2496 จีนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงชนะเลิศโลกครั้งที่ 20 ที่เมืองบุชเชอเรสต์ ญี่ปุ่นก็ได้ชัยชนะประเภททีมชายและหญิง ชั้นเชิงการตีลูกของชาวซามูไรทำให้วงการเทเบิลเทนนิสตื่นตัว เพราะญี่ปุ่นใช้วิธีการจับไม้แบบถือพู่กัน หรือ เรียกกันในภายหลังว่า แบบตะวันออก ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตบลูกที่รุนแรง นักตีชาวยุโรปที่จับไม้แบบเชคแฮนด์จึงพ่ายแพ้อย่างราบคาบ

ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกปี พ.ศ.2499 ทีมอังกฤษได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งทำให้การเล่นล่าช้าไปครึ่งชั่วโมง โดยร้องเรียนว่าลูกที่ใช้ในการแข่งขันอ่อนไป และยังไม่กลมด้วย เขาเลือกลูกอยู่ 192 ใบจึงได้ลูกที่ถูกใจ และต่อมาก็พ่ายแพ้ในการแข่งขัน

เทคนิคการเล่นของยุโรปในการรุกจะใช้ไหล่ ศอก และเอว ในขณะที่ผู้เล่นญี่ปุ่นใช้ทั้งลำตัวในการตี และใช้เทคนิคแบบโต้กลับปะทะการรุก จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นเหนือกว่าชาวยุโรป การรุกแบบผู้เล่นญี่ปุ่นนั้นทำให้ชาวยุโรปกลัว เพราะคล้ายกับการโจมตีแบบกามิกาเซ่ (Kamikaze) การรุกแบบกล้าหาญนี้ ชาวญี่ปุ่นถือว่ากล้าได้กล้าเสีย และเสี่ยง แต่ผู้เล่นญี่ปุ่นก็พยายามรุกและมีฟุตเวิร์กที่คล่องแคล่วอันทำให้สัมฤทธิ์ผลจนได้รับชัยชนะในการแข่งขันประเภททีมถึง 5 ครั้งติดต่อกัน อันเป็นสถิติที่ดีเยี่ยมเท่าที่เคยมีมา โดยมี Ogimara เป็นตัวเล่น ซึ่งเขาชนะถึง 12 ครั้ง รวมถึง Tanaka, Tomida, Murakami, Kimura และทำให้ญี่ปุ่นเป็นแชมเปี้ยนโลกในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2493) ชาวยุโรปแข่งขันกับญี่ปุนโดยใช้วิธีจับไม้แบบจับมือ (Shake-hand grip) และส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายรับ อีกประการหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นครองความเป็นจ้าวปิงปองคือ ญี่ปุ่นได้ใช้วิธีตีลูกแบบ Top-spin ชาวยุโรปซึ่งเป็นฝ่ายรับจึงปราชัยอย่างราบคาบ

ปี พ.ศ. 2503 การเล่นของชาวยุโรปก็ยังเป็นแบบเดิม ทำให้เทเบิลเทนนิสของชาวยุโรปตกต่ำลงไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2503 ในปีนี้มีการแข่งขันชิงชนะเลิศที่ญี่ปุ่น ประเทศยูโกสลาเวียและฮังการีก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยแต่ก็แพ้ญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นใช้วิธีตีลูก Top spin และในระยะต่อมาฮังการีก็ได้คิดค้นวิธีตีลูก Back spin ขึ้น จึงทำให้การเล่นเทเบิลเทนนิสพัฒนาขึ้นอย่างมาก สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นจ้าวปิงปอง เพราะ

1. ญี่ปุ่นได้ค้นพบของใหม่ โดยดัดแปลงการตีที่ใช้ฟองน้ำเข้าช่วยและใช้ลูก Top spin 2. ใช้เทคนิคการบุกแบบตบลูกยาว 3. นักกีฬาของชาวญี่ปุ่นมีความมานะอดทนในการฝึกซ้อม

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนได้ตำแหน่งชนะเลิศ โดยจีนใช้วิธีบุกเร็วและการยืนตำแหน่งชิดโต๊ะแต่ในระยะหลังนี้ชาวยุโรปได้ฟื้นตัวขึ้นมา เพราะในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกที่เปียงยาง ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2522 ฮังการีได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย หลังจากได้เสียตำแหน่งไป 20 กว่าปี

จีนชนะปี พ.ศ. 2503 และใน ปี พ.ศ. 2504 การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกได้เปลี่ยนแปลงจากปีละ 1 ครั้ง มาเป็น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง พ.ศ. 2505 มีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นที่กรุงปักกิ่ง นักตีรุ่นหนุ่มของจีนชนะทีมญี่ปุ่นด้วยการรุกแบบสายฟ้าแลบ และรับอย่างฉับไว โดยการจับไม้แบบไม้จีน (Chinese Penholder grip) จีนชนะเลิศประเภททีมชายและชายเดี่ยว 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งจีนได้เรียนรู้จากญี่ปุ่นทั้งทางภาพยนตร์และจากเอกสาร จึงได้แก้ทางเล่นโดยใช้วิธีเล่นทั้งลูกสั้นและลูกยาวแบบญี่ปุ่นอันเป็นหลักของจีนมาถึงปัจจุบัน เป็นวิธีที่รู้จักกันว่าเป็นการเล่นเทเบิลเทนนิสแบบจีน ซึ่งไม่มีใครเหมือน

ต่อมาในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ครั้งที่ 27, 28 พ.ศ. 2506, 2508 จีนก็ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมชาย-หญิง ชายเดี่ยว และหญิงเดี่ยวในการแข่งขันครั้งที่ 29 และ 30 จีนยักษ์ใหญ่ในวงการเทเบิลเทนนิสก็ไม่ได้เข้าชิงชัย เนื่องจากเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีน จึงทำให้นักตีชาวยุโรปคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะครั้งที่ 30 ซึ่งเยอรมันตะวันตกเป็นเจ้าภาพ รัสเซียได้ครองตำแหน่งชนะเลิศประเภททีมหญิง และสวีเดนชนะเลิศประเภทชายคู่ ส่วนญี่ปุ่นได้ตำแหน่งทีมชาย ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และคู่ผสม รวม 4 ตำแหน่ง

ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 31 ที่เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2514 จีนได้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง และได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม และประเภททีมชาย ส่วนตำแหน่งชายเดี่ยว ได้แก่ Stellan ;Bengtsson จากสวีเดน ชายคู่ ได้แก่ ฮังการี ประเภททีมหญิง ได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยประเภททีมชายได้อันดับที่ 23 จากประเทศเข้าแข่งขัน 39 ประเทศ ทีมหญิงได้อันดับที่ 22 จาก 27 ประเทศที่ส่งเข้าแข่งขัน

การแข่งขันครั้งที่ 31 ที่นาโกย่า นับเป็นการแข่งขันที่มีคนกล่าวขวัญกันมากเป็นประวัติการณ์ เพราะการแข่งขันครังนี้นับว่าเป็นสื่อให้ยักษ์ใหญ่ 2 ฝ่ายในโลกหันหน้าเข้าหากัน เพราะหลังจากการแข่งขันครั้งนี้แล้ว จีนได้เชิญนักปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนปักกิ่ง รวมทั้งทีมจากแคนาดา โคลัมเบีย และไนจีเรีย สหรัฐอเมริกาตกลงรับคำเชิญของจีนทันที ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงได้มีโอกาสเข้าสู่จีนหลังจากจีนได้ปิดประเทศมาถึง 22 ปีเต็ม

นักปิงปองจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 15 คน จึงเป็นกลุ่มแรกที่ได้เดินเข้าสู่เมืองของเหมา เจ๋อ ตุง เมื่อนักตีของสหรัฐอเมริกาไปจีนแล้ว ประธานาธิบดี Richard Nickson ก็ได้โอนอ่อนนโยบายการค้ากับจีน จะเห็นได้ว่าการเมืองกับการกีฬาแยกกันไม่ออก บางครั้งการเมืองก็ทำให้การกีฬาต้องหยุดชะงัก แต่บางครั้งการกีฬาต้องหยุดชะงัก แต่บางครั้งการกีฬาก็ยุติวิกฤติการณ์ทางการเมืองได้ หากนักกีฬาที่มีหัวรุนแรงนำเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวกันก็อาจทำให้การแข่งขันครั้งนั้นไม่ถึงที่สุดได้ อย่างเช่นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกครั้งที่ 31 นักกีฬาของจีนคนหนึ่งที่ไม่ยอมแข่งขันกับนักกีฬาาของเขมรและเวียดนามจึงทำให้ตกรอบในการแข่งขันครั้งนั้น

เหตุที่ชาวยุโรปได้กลับฟื้นตัวในการเล่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้เล่นชาวยุโรปได้ใช้วิธีเล่นแบบใหม่โดยใช้การรุกแบบเอเชีย เริ่มโดยสวีเดน และอีกหลายประเทศซึ่งยอมรับวิธีเล่นของคนอื่นได้ kjell Johansson และ H. Aiser ของสวีเดนเป็นผู้ชนะเลิศประเภทชายคู่ใน พ.ศ. 2510 และ พ.ศ. 2512 ได้เป็นผู้ปูทางให้ชาวยุโรปเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงมีหลายคนวิจารณ์ว่าชาวยุโรปใช้วิธีการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ในที่สุดชาวสวีเดนก็ทำได้สำเร็จ จึงทำให้เกิดนักตีรุ่นใหม่ และได้ฝึกคนอื่นๆ ในยุโรปตะวันออก

ในปี พ.ศ. 2513 ยุโรปก็มีพลังกล้าแข็งขึ้น และมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะเผชิญกับชาวเอเชีย หลังจากการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่แล้ว จวบจนถึงปี พ.ศ. 2513 ทีมญี่ปุ่นก็ตกต่ำลง เมื่อชาวยุโรปได้ชิงความชนะเลิศไป โดยใช้วิธีการรุกแบบใหม่ และการจับไม้แบบจับมือ ปี พ.ศ. 2514 มีการแข่งขันชิงชนะเลิศที่เมืองนาโกย่าสวีเดนชนะเลิศประเภทชายเดี่ยว และปี พ.ศ. 2516 สวีเดนได้รับชัยชนะมากที่สุดในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก และการเล่นเทเบิลเทนนิสของชาวยุโรปก็เป็นไปตามเทคนิคใหม่นี้

การแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศของโลก ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2522 ที่เปียงยาง ทีมชายของฮังการีได้รับตำแหน่งชนะเลิศ ส่วนประเภทชายเดี่ยวนั้นในรอบชิงชนะเลิศ Guo Yuehua ของจีนแข่งขันกับ Seiji One ของญี่ปุ่น ในการแข่งขันเกมที่ 3 Guo Yuehua จากจีนกล้ามเนื้อฉีกไม่สามารถแข่งขันต่อได้ จึงทำให้ Seiji One จากญี่ปุ่นชนะไป

ปี พ.ศ. 2524 การแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 36 ที่ Novi Sad Sad ประเทศยูโกสโลวาเกีย Guo Yuehua ก็ได้แชมป์โลก ชายเดี่ยว และในการแข่งขันครั้งนี้จีนได้ครองแชมป์ทั้ง 7 ประเภท การแข่งขันครั้งที่ 37 ในปี พ.ศ. 2526 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จีนได้ตำแหน่งชนะเลิศ 6 ประเภท ส่วนประเภทชายคู่ Kalinic Zoran และ Dragutin Surbek ประเทศยูโกสลาเวียได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ

การแข่งขันชนะเลิศแห่งโลกครั้งที่ 38 จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2528 ณ ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-7 พฤษภาคม และครั้งที่ 39 จัดแข่งในปี พ.ศ. 2530 ที่ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 6-16 กุมภาพันธ์

เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาประเภทหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิก ครั้งที่ 24 ในปี พ.ศ. 2531 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยกำหนดให้มีการแข่งขัน 4 ประเภท ได้แก่ ชายเดี่ยว (64 คน) ชายคู่ (32 คู่) หญิงเดี่ยว (32 คน) และหญิงคู่ (16 คู่)

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความสำคัญของฟุตบอล

ความสำคัญของกีฬาฟุตบอล
ฟุตบอล เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปทุกระดับชั้น ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะประเทศไทย กีฬาฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ( World Cup) ประชาชนจำนวนหลายล้านคน เฝ้าติดตามชมการแข่งขันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา นับเป็นเกมการแข่งขันที่สนุกสนาน เร้าใจ ดึงดูดใจ เพราะการแข่งขันฟุตบอลโลกแต่ละทีม ได้มีการพัฒนารูปแบบ การเล่น เทคนิค แท็กติค ใหม่ๆ และสมรรถภาพทางกายที่สมบูรณ์อยู่เสมอ ทำให้เกมการแข่งขันตื่นเต้นเร้าใจ ประทับใจตลอดกาล
กีฬาฟุตบอล นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งของสังคมไทย เพราะกีฬาฟุตบอลมีความโดดเด่น และมีประชาชนสนใจมากที่สุด มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ มีเครือข่ายโยงใยทั่วโลก หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับมีแต่ข่าวกีฬา หรือแยกข่าวกีฬาออกมาอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะ หรือบางฉบับมีข่าวกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลอย่างเดียวทั้งฉบับ มีวารสารกีฬาฟุตบอลหลายฉบับ มีหนังสือฟุตบอลใช้ในด้านการเรียนการสอน หรือตำราฟุตบอลเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว สถานีวิทยุกระจายเสียงมีข่าวกีฬาตลอดทั้งวันหลายรายการ โทรทัศน์เสนอรายการกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลทั้งเทป และถ่ายทอดสดทั้งในประเทศ และต่างประเทศหลายช่องเกือบทุกวัน โดยเฉพาะฟุตบอลโลก ประชาชนคนไทย และทั่วโลกเฝ้าติดตามชมการถ่ายทอดฟุตบอลโลกผ่านดาวเทียมจำนวนหลายล้านคน จนกระทั่งผู้สื่อข่าวกีฬาให้ฉายาว่า “ฟุตบอลโลกฟีเวอร์”
นักฟุตบอลฝีเท้าดีจะได้รับการกล่าวขานและติดตามชมของประชาชนทั่วโลก และมีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ของคนทั่วโลก ส่งเสริมให้นักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงนั้น มีตำแหน่งเพิ่มขึ้น อาทิ รัฐมนตรีกีฬา เปเล่ หรือราชาลูกหนังโลกไข่มุกดำแห่งประเทศ บราซิล